ในการผ่าตัดของโรงพยาบาลศัลยกรรมจะแบ่งยาระงับความเจ็บปวดหลักๆก็คือ ยาสลบ และ ยานอนหลับ ในส่วนของยาสลบจะใช้ในกรณีผ่าตัดขากรรไกร, ผ่าตัดกระดูกโครงหน้า และ ศัลยกรรมหน้าอก เป็นต้น แต่สำหรับยานอนหลับนั้นจะใช้ในการทำศัลยกรรมตา และ จมูก
สำหรับ ยานอนหลับ จะกระทำเพื่อระงับความเจ็บปวด และลดความกังวลของคนไข้ โดยจะอยู่ในระดับที่สามารถรู้สึกตัวขึ้นมาได้หากมีการสนทนาหรือสัมผัส แตกต่างจากการใช้ยาสลบ
อีกทั้งการวางยาสลบจะเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่การวางยานอนหลับจะสามารถรักษาประสิทธิภาพการทำงานของระบบทางเดินหายใจได้เป็นปกติ จึงไม่จำเป็นต้องทำการขยายหลอดลม
นอกจากนี้ก่อนวางยานอนหลับ จะต้องพิจารณาจากปัจจัยต่างๆของคนไข้ เช่น อายุ, สภาพร่างกาย, ประวัติการรับประทานยา, โรคประจำตัว, การแพ้ยา เป็นต้น เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกประเภทของยาและปริมาณที่เหมาะสม ดังนั้น หากมียาที่รับประทานอยู่เป็นประจำ หรือ มีโรคประจำตัว จะต้องแจ้งให้ทางโรงพยาบาลศัลยกรรมทราบ
อีกทั้งกรณีที่มีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว หรือ ไข้หวัด นั้น ไม่เหมาะต่อการวางยานอนหลับ และเบื้องต้นจะต้องมีการเทสอาการแพ้สำหรับการวางยานอนหลับอีกด้วย
ในการปฏิบัติตัวก่อนการวางยานอนหลับ จะต้องงดอาหารทุกประเภทรวมถึงน้ำดื่มก่อนผ่าตัด เป็นเวลา 3 ชั่วโมง (รวมถึง บุหรี่, หมากฝรั่ง, ลูกอม)
หลังผ่าตัด จะต้องงดอาหาร จนกว่าจะฟื้นจากยาชาอย่างสมบูรณ์ เนื่องจากอาจเป็นอันตรายหากรับประทานผิดวิธี เช่น ติดหลอดลม ดังนั้นจะสามารถรับประทานอาหารได้ หากมีสติครบถ้วนและไม่มีอาการคลื่นไส้ หรือ อาเจียน
โดยอาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังฟื้นจากยานอนหลับ เช่น วิงเวียนศีรษะ, หมดสติ, ปวดศีรษะ หรือ ความทรงจำขาดหาย ไปจนถึงอาการอ่อนแรง หรือ อาเจียน, อาการชัก เป็นต้น
สำหรับการวางยานอนหลับส่วนใหญ่แล้วจะไม่ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล สามารถกลับได้ในวันผ่าตัด แต่อาจจะเกิดอาการดังที่กล่าวดังข้างต้นหลังจากผ่าตัดแล้ว ซึ่งต้องใช้เวลานานเพื่อฟื้นจากยานอนหลับอย่างสมบูรณ์ จึงห้ามขับรถด้วยตัวเองโดยไม่มีผู้ปกครองอย่างเด็ดขาด
ลิขสิทธิ์ข้อมูลโดย www.oppame.com
Comments