จากผลการสำรวจผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้บริการสถาบันทางการแพทย์ด้านความงามและการทำศัลยกรรม พบว่า 4 จาก 10 สถาบัน มีการดำเนินการโฆษณาออนไลน์ที่สงสัยว่าจะละเมิดกฎหมายทางการแพทย์
จากผลการตรวจสอบโฆษณาออนไลน์ สถาบันการแพทย์ 190 แห่งที่ได้รับการเรียกร้องจากผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการใช้บริการสถาบันทางการแพทย์ด้านความงาม และการทำศัลยกรรม เป็นระยะเวลา 2 ปีตั้งแต่ปี 2019 ของหน่วยงานผู้บริโภคของเกาหลี พบว่า 37.4% (71แห่ง) ของสถาบันเหล่านี้มีการทำการโฆษณาที่สงสัยว่าเป็นการละเมิดกฎหมายทางการแพทย์
สำนักงานผู้บริโภคอธิบายว่ามีโฆษณาออนไลน์กว่า 92 รายการ ที่เกี่ยวกับประสบการณ์การในการรักษาคนไข้ ถูกสงสัยว่าละเมิดกฎหมายทางการแพทย์ และอีก 32 รายการ เป็นโฆษณาที่อาจทำให้เข้าใจผิดหรือสับสนเกี่ยวกับผลการรักษา
20 รายการ โฆษณาโดยใช้ประกาศณียบัตรและหนังสือขอบคุณ, อีกทั้งยังมีโฆษณาเพื่อดึงดูดผู้ป่วยต่างชาติจากสถาบันที่ไม่ได้ลงทะเบียน 1 รายการ, โฆษณาที่เกินความจริงเป็น 13 รายการ และโฆษณาที่อ้างคุณสมบัติและชื่อที่ยังไม่ได้การรองรับทางกฎหมาย 8 รายการ
สำนักงานผู้บริโภคจึงได้ทำการตัดสินใจส่งเนื้อหาโฆษณาที่เหล่านี้ไปยังกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ เพื่อที่จะขอให้มีการส่งเสริมการจัดการและกำกับดูแลโฆษณาทางการแพทย์ที่เข้มงวดขึ้นและเพื่อดำเนินการทางกฏหมาย
สำนักงานผู้บริโภคยังอธิบายอีกว่าเมื่อความสนใจในรูปลักษณ์เพิ่มขึ้น จึงมีผู้บริโภคได้รับความเสียหายหลังจากการใช้บริการสถาบันทางการแพทย์ด้านความงามและการทำศัลยกรรม เช่น การถูกปฏิเสธการคืนเงิน หรือ ได้รับผลข้างเคียงจากการทำศัลกรรม เป็นต้น ทำให้มีการร้องเรียนในเรื่องนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
สำนักงานผู้บริโภคจึงได้ทำการเน้นย้ำว่า เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายจากการใช้บริการเหล่านี้ จึงไม่ควรทำสัญญาเพื่อรับการให้บริการจากสถาบันเหล่านี้โดยไม่ใตร่ตรอง ควรตรวจสอบให้แน่ชัดว่าแพทย์ที่รับผิดชอบดารผ่าตัดนั้นเป็นผู้เชี่ยวชาญในแผนกที่เกี่ยวข้องจริงหรือไม่ และต้องตรวจสอบเกี่ยวกับระเบียบการคืนเงินในสัญญาอย่างรอบคอบ
เรียบเรียงและแปลโดย: Oppa Me (Global)
Kommentare